วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย


การปกครองของไทย


      
                      ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์แต่เพียงประองค์เดียว ทรงใช้อำนาจทั้งในด้านนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และทรงแต่งตั้งข้าราชการ ขุนนางไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมายใดๆ   พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมาย ทรงตัดสินและพิจารณาอรรถคดี ทรงบริหารประเทศ
                      ดังนั้นประชาชนจึงต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ใครฝ่าผืนไม่ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและประชาชนต้องปฏิบัติตามและที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


สมัยอาณาจักรสุโขทัย (..1800-1921)

         


        

                 ในสมัยนี้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบการ
ปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้
อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมืองเรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและตัดสินคดีความต่าง ๆ ทุกวันธรรมะสาวนะด้วยพระองค์เอง เรียกอำนาจนี้ว่าอำนาจตุลาการ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้เพียงพระองค์เดียว และทรงใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักธรรมประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครองโดยใช้คตินิยมในการปกครองแบบครอบครัวหรือ
"พ่อปกครองลูก" มาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชน
มาก ประชาชนต่างก็เรียกพระมหากษัตริย์ว่า “พ่อขุน

            นอกจากจะทรงวางรากฐานทางการปกครองแล้วในสมัยสุโขทัยยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยเปิด
โอกาสให้คนได้เรียนรู้ภาษา รู้ธรรมและกษัตริย์บางพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา การ
ปกครองจึงมีรูปแบบธรรมราชาด้วย ซึ่งมีหลักการ คือ ความเชื่อที่ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะต้องถูก
กำกับด้วยหลักธรรมะ ประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่า สวรรคต
            หลักธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ


สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  (.. 1893-2310)
             

  
           พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงของการก่อร่างสร้างเมืองทำให้ต้องมีผู้นำในการปกครองเพื่อรวมรวมอาณาจักรให้แผ่ขยาย มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการค้าและศาสนา และในช่วงเวลานั้นมีการเผยแพร่ของลัทธิฮินดูและขอมเข้ามามีบทบาทในอาณาจักร
             ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้รับวัฒนธรรมการปกครองแบบขอมและฮินดูเข้ามาใช้ เรียก
การปกครองแบบนี้ว่า   การปกครองแบบเทวสิทธิ์หรือ สมมติเทพ
              จากการที่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้รับแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากเขมรมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปกครองและในด้านสังคมไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราช หรือเทวดาโดยสมมุติ    การเกิดระบบศักดินาขึ้นครั้งแรกในสังคมไทย, การเกิดการปกครองแบบนายกับบ่าว  มีการแบ่งชั้นทางสังคมชัดเจน

               นอกจากนี้ในสมัยอยุธยายังต้องทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง มีการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อป้องกันประเทศ จึงเกิดระบบไพร่และมูลนายด้วยเช่นกัน




สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(.. 2310-2325)




3.1) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี
เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ไทยได้เสียกรุงให้กับพม่า ครั้งที่ 2ในปี พ.. 2310 เกิด
ความแตกแยกกันเป็นกก เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้ อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลากปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรี และตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นฝึกแผ่น ทำการกอบกู้เอกราชมาโดยตลอด ดังนั้น ตลอดระยะเวลา15 ปีพระองค์จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร    ดังนั้น  ในสมัยกรุงธนบุรีอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่
3.2) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ประเทศไทยใช้รูปแบบการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่นกัน เพราะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงก่อร่างสร้างเมืองปราบปรามข้าศึกศัตรูโดยเฉพาะพม่า ทำให้ในเรื่องการปกครองไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ 3 มีการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมประกอบกับประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐกันชนทำให้เป็นที่สนใจของมหาอำนาจ ดังนั้นจึงส่งผลให้มีการปฏิรูปทั้งในด้านการเมืองการปกครองรวมทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏผลอย่างชัดเจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




สมัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่  24 มิถุนายน พ.. 2475







              ผลจาการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมและปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ส่งผลให้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการปกครอง และความจำเป็นในการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ทำการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินในวันที่
1 เมษายน 2435   หรือร..111
              หนึ่งในกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัยที่สำคัญ ได้แก่ การที่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงได้เดินทางไปรับการศึกษายังต่างประเทศ ซึ่งเมื่อได้เดินทางกลับมาก็ได้นำเอาแนวคิดและอารยธรรมทางตะวันตก รวมทั้งแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองเข้ามาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันรวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก้ปัญหาโดยทำการปลดข้าราชการ ให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการประหยัด ทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารไม่พอใจ ต่อมาภายหลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลดข้าราชการออกมากขึ้นรวมทั้งบรรดานายทหารชั้นนำก็ถูกลดขั้นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดและปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎรส่งผลให้ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในวันที่  24 มิถุนายน 2475



............................................................

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาเซียน (ASEAN)



อาเซียน (ASEAN)
      


                  อาเซียน (ASEAN) คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) เริ่มก่อตั้งเป็นทางการในประเทศไทย ผ่านการลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจในปฏิญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2510 ผ่านทางผู้นำ 5 ชาติ คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งสมาชิกที่เพิ่มขึ้นคือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา




รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน




บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่




กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่




อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่



ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่



มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่


ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่



สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่



ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ




เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่



ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ











.