วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎหมาย ถามตอบ

กฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหา?



1. กฎหมาย คืออะไร?
           กฎหมาย  คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไบ้าง?                                                                    
           ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
  1.  กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์
                  รัฐาธิปัตย์ หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ    เช่น  ผู้นำสูงสุด  หรือหัวหน้าคณะปฎิวัติในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ   พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช        ส่วนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ตรากฎหมายโดยความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา

     2.  กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้ทั่วไป
                 กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค  หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้

      3. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป
                      กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว  ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก

      4. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตาม
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว  บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม
       5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายนั้น ๆ กำหนดไว้  เช่นการเสียสิทธิ   การชดใช้สินไหมทดแทน หรือการถูกลงโทษทางอาญา เช่น ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  และสูงสุดคือประหารชีวิต

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
            กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้

      1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม

      2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

      3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

      4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใบ้าง?
       กฎหมายแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่กฎหมายภายในซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศและกฎหมายภายนอกซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
   กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

   กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   1.ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
     1.1กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
     1.2กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลอง จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
                                                            
           2.ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
     
2.1กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
     2.2กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง 
สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญาแต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
   
   3.ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
     3.1กฎหมายสารบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
     3.2กฎหมายวิธีสบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบท บัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเองเช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวงกฎหมายวิธีพิจารณา คดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
   
    4.ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
     4.1กฎหมายเอกชน ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น

     4.2กฎหมายมหาชน
ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐเป็นผู้ ปกครองจงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
   
กฎหมายภายนอก กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
    1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
 ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกันเมื่อมี ความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคีซึ่งให้สัตยาบัน ร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
    2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
 ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งเมื่อ เกิดความขัดแย้งข้อพิพาทขึ้นจะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
    3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือ รับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่งมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศ ของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่นคนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิด แล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น




5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา


6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?                ระบบกฎหมายโรมาโน – เยอรมันนิค (Romano Germanic Law) / Civil law
คำว่า “โรมาโน” หมายถึง กรุงโรม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลี ส่วนคำว่า “เยอรมันนิค” หมายถึง ชาวเยอรมัน การที่ตั้งชื่อระบบกฎหมายเช่นนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศอิตาลีและ ประเทศเยอรมัน เนื่องจาก อิตาลีเป็นประเทศแรกที่รื้อฟื้นกฎหมายโรมันในอดีตขึ้นมาปรับใช้กับประเทศของ ตน โดยเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1110 ประเทศอิตาลีเริ่มมีการพัฒนาประเทศทำให้มีการค้าขายมากขึ้น มีการค้าขายระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองขึ้น กฎหมายในประเทศซึ่งมีอยู่เดิมใช้บังคับไม่เพียงพอที่จะนำมาปรับใช้บังคับกับ ข้อเท็จจริงในระบบเศรษฐกิจที่มีความยุ่งยากซับซ้อน จึงได้มีการฟื้นฟูกฎหมายโรมันขึ้นมาใช้ โดยมีการนำมาศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยที่เมืองโบลอกนา (Bologna) ปรากฏว่ากฎหมายโรมันมีบทบัญญัติที่สามารถใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ และเห็นว่ากฎหมายโรมันใช้ได้และเป็นธรรม ประเทศอิตาลีจึงได้รับเอากฎหมายโรมันมาบัญญัติใช้บังคับในเวลาต่อมาและ กฎหมายโรมันจึงได้ถูกถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาทั่วไป 
ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่สองที่ได้รับเอากฎหมาย โรมันมาใช้เช่นเดียวกันกับประเทศอิตาลี ต่อมาประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ สเปน ได้นำกฎหมายโรมันมาปรับใช้กับประเทศของตนเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิคนี้มีต้นกำเนิดจากประเทศใน ภาคพื้นยุโรป แต่ปัจจุบันระบบกฎหมายนี้มีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วโลกในทวีปต่างๆ ไม่ว่าทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล เพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส หรือเม็กซิโก ชิลี เปรู อาร์เจนตินา ที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน แม้กระทั่งประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ซาอีร์ โซมาเลีย รวันดา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสก็ได้รับอิทธิพลของระบบกฎหมายโรมาโน-เยอร มันนิคทั้งสิ้น และประเทศแถบเอเชียบางประเทศ เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยด้วย

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
             ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) 
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้นมีต้นแบบมาจากประเทศ อังกฤษ ซึ่งเดิมก่อนศตวรรษที่ 11ประเทศอังกฤษยังไม่เป็นปึกแผ่นโดยแบ่งการปกครองเป็นตามแคว้นหรือเผ่าของตน เอง มีระบบกฎหมายและระบบศาลตามเผ่าของตนเองไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 10-15 พระเจ้าวิลเลี่ยม ดยุคแห่งแคว้นนอร์มังดีของฝรั่งเศสได้ยกกองทัพเข้ายึดครองเกาะอังกฤษหลังจาก การสู้รบกันระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยผลัดกันยกกองทัพไปรบ การรบครั้งแรกก็ไม่ได้ชัยชนะ 
ต่อมาก็บุกเข้าไปยึดครองอังกฤษได้ เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในอังกฤษยอมสวามิภักดิ์และยอมอยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้าวิลเลี่ยมหรือดยุค แห่งนอร์มังดี นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมและปกครองเกาะอังกฤษให้เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันภายใต้การนำของดยุคแห่งนอร์มังดี อังกฤษจึงเป็นปึกแผ่นครั้งแรกตามประวัติศาสตร์ 
อย่างไรก็ตามการปกครองในครั้งนั้นพระเจ้าวิ ลเลี่ยมมิได้เลิกอำนาจของหัวหน้าเผ่าหรือนำวัฒนธรรม อารยธรรมของนอร์มังดีเข้าไปใช้ในเกาะอังกฤษ แต่ใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ของยุโรปภาคพื้นทวีปผสมผสานไปกับระบบที่เป็น อยู่ของเผ่าต่าง ๆ บนเกาะอังกฤษโดยทรงถือว่าพระองค์เป็นเจ้าของราชอาณาจักรเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้วแบ่งดินแดนต่าง ๆ ให้กับขุนนางและยอมรับเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ของอังกฤษที่ยอมเข้าสวามิภักดิ์เป็นขุนนางของพระองค์ ดังนั้นระบบศักดินาสวามิภักดิ์จึงเข้าไปฝังรากในอังกฤษด้วยพระเจ้าวิลเลี่ยม เป็นกษัตริย์ มีขุนนางปกครองแคว้นต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ไปจากแคว้นนอร์มังดี เป็นการตอบแทนที่ทำสงครามชนะ อีกส่วนหนึ่งก็คือบรรดาหัวหน้าเผ่าที่ยอมสวามิภักดิ์  การใช้กฎหมายต่าง ๆ ใช้กฎหมายชนเผ่าต่อไปตามเดิม 
ต่อมาพระเจ้าวิลเลี่ยมเห็นความจำเป็นว่าถ้าจะทำ ให้การปกครองเป็นเอกภาพเป็นปึกแผ่นและอำนาจของพระองค์เข้มแข็ง จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีกฎหมายที่เหมือนกันใช้ร่วมกันทั้งประเทศหรือทั่ว ทั้งราชอาณาจักร ถ้าปล่อยให้แต่ละแคว้นมีระบบกฎหมาย ระบบการบริหาร ระบบตัดสินคดีความของตัวเองแตกต่างกันไปหมด การที่จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความเป็นปึกแผ่นย่อมจะเป็นไปไม่ได้ การที่จะทำให้สังคมชาติมีความเป็นปึกแผ่น มีความเป็นรัฐที่มีการจัดระเบียบที่ดีจะต้องทำอยู่ 2 อย่าง คือ การจัดระบบกฎหมายเสียใหม่ทั้งรัฐให้เหมือนกัน และจัดระบบการปกครองที่ทำให้อำนาจนั้นมีเอกภาพ ดังนั้น พระเจ้าวิลเลี่ยม จึงจัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์หรือศาลหลวง (King’s Court) ขึ้น 
               กฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) เป็นกฎหมายที่วิวัฒนาการมาจากคำพิพากษาของศาลพระมหากษัตริย์หรือศาลหลวง (King’s Court) อันเนื่องมาจากเดิมการพิจารณาคดีของศาลในแคว้นต่างๆ มีการพิจารณาคดีตามจารีตประเพณีของแคว้นหรือชนเผ่าตนเอง ทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีการกระทำความผิดหรือมีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเกิด ขึ้นต่างแคว้นกัน ศาลในแต่ละแคว้นตัดสินแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ดังนั้น พระเจ้าวิลเลี่ยม จึงจัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์หรือศาลหลวง (King’sCourt)โดยมีการคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้ ความสามารถจากส่วนกลางหมุนเวียนออกไปพิจารณาคดีในศาลท้องถิ่นทั่วทุกแคว้น มีการพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) แทนการพิจารณาคดีแบบเดิม โดยถือว่าเมื่อศาลหลวงมีคำพิพากษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอย่างใดแล้วศาลอื่น ๆ ต้องผูกพันพิพากษาคดีตามศาลหลวง ซึ่งในระยะต้น ๆ มีปัญหาขัดแย้งในการพิพากษาคดีมาก เพราะแต่ละแคว้นก็มีจารีตประเพณีเป็นของตนเอง การใช้กฎหมายบังคับจึงต้องใช้กฎหมายจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่น แต่ในระยะต่อมาความขัดแย้งเหล่านี้ค่อย ๆ หมดไปเกิดเป็นจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่มีลักษณะเป็น สามัญ (Common) และใช้กันทั่วไปในศาลทุกแคว้น ด้วยเหตุนี้กฎหมายคอมมอน ลอว์ จึงเริ่มเกิดขึ้นประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา 
เนื่องจากจารีตประเพณีที่ใช้บังคับมิได้มีการ บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ศาลจึงเป็นผู้ที่นำจารีตประเพณีมาใช้และพิจารณาพิพากษาคดีโดยอาศัยประเพณี ดังกล่าว คำพิพากษาศาลได้มีการบันทึกเอาไว้เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ผู้พิพากษาคนต่อ ๆ มาใช้เป็นแบบอย่าง (Precedent)กล่าวคือ เมื่อศาลใดได้วินิจฉัยปัญหาใดไว้ครั้งหนึ่งแล้วศาลต่อ ๆ มาซึ่งพิจารณาคดี ซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกันย่อมต้องผูกพันในอันที่จะต้องพิพากษาตาม คำพิพากษาก่อน ๆ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างนั้นด้วยคำพิพากษาของศาลจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายอย่าง หนึ่ง
แม้ว่าศาลจะนำกฎหมายคอมมอน ลอว์ มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อให้เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศแล้วก็ ตามแต่กฎหมายคอมมอน ลอว์ ก็ยังมีช่องว่างและไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้ทุกเรื่อง อันเนื่องจากสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและความซับซ้อนของเศรษฐกิจ คำพิพากษาของศาลที่มีอยู่ไม่อาจใช้บังคับกับข้อเท็จจริงบางเรื่องได้ส่งผล ให้ไม่อาจจะนำกฎหมายคอมมอน ลอว์ มาใช้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมได้
 


ครั้นต่อมาเมื่อรัฐสภาอังกฤษมีอำนาจมากขึ้น ได้มีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ขึ้นใช้บังคับอย่างแพร่หลาย โดยถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องและเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายคอมมอน ลอว์ซึ่งเป็นหลักทั่วไป ระบบคอมมอน ลอว์ ปัจจุบันมีที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา  แคนาดา  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  และประเทศที่เคยอยู่ในเครือจักรภพของอังกฤษ เป็นต้น 

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
                   ระบบกฎหมาย ในปัจจุบัน มี 4 ระบบ ดังนี้

  • ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น
  • ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น
  • ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น
  • ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)

หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
                 Civil Law
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
         องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 
 1.ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น


2.ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ



3.อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก



4.รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012


การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012
    การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 มีกำหนดจัดการเลือกตั้งในวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2012 ตามเวลาในท้องถิ่น ซึ่งเป็นตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกๆ 4 ปีจะจัดการเลือกตั้ง 1 ครั้ง โดยครั้งนี้นับเป็นการจัดการเลือกตั้งครั้งที่ 57
สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 57 นี้ บารัค โอบาม่า จาก พรรคเดโมแครก ได้ลงสมัครชิงเก้าอี้ตำแหน่งเดิมเป็นสมัยที่ 2 โดยมีคู่แข่งคนสำคัญคือ มิตต์ รอมมีย์ จาก พรรครีพลับลีกัน นอกจากผู้สมัครรายใหญ่ทั้ง 2 คนแล้ว ยังมีผู้สมัครคนอื่นๆ ได้แก่ แกรี่ จอห์นสัน จาก พรรคลิเบอร์ทาเรียน , จิล สตีนน์ จาก พรรคกรีน , เวอร์กิล กู๊ดด์ จาก พรรคคอนซิททูชั่น และ ร็อกกี้ แอนเดอร์สัน จาก พรรคจัสติส
ส่วนการนับผลการเลือกตั้ง ประชาชนจะทราบผลงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 ธันวาคม 2012 ซึ่งจะแบ่งผลออกเป็น 2 แบบ คือ ป๊อปปูล่าร์ โหวต และ อีเล็กทรอรอล โหวต เนื่องจากการเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะเลือกผู้แทนของพวกเขา เข้าไปเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งจากประชาชนจึงเหมือนเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม ซึ่งผลสุดท้ายต้องได้ อีเล็กทรอรอล โหวต มากกว่า 270 โหวต หรือเท่ากับ
ขณะที่กติกาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ยังได้กำหนดไว้ว่า ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด หมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนในมลรัฐนั้นๆ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งทั้งหมด ดังนั้นหากมลรัฐใดมีจำนวนผู้เลือกตั้งมาก ก็ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย (55 ที่) รัฐเท็กซัส (34 ที่) รัฐนิวยอร์ก (31 ที่) หรือ รัฐฟลอริด้า (27 ที่) เป็นต้น
ภายหลังจากการทราบผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ พิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ ก็จะมีขึ้นในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป โดยประธานาธิบดีคนเดิมจะดำรงตำแหน่งอยู่จนเวลาเที่ยงวันของวันนั้น
ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริก นายบารัค โอบามา ได้กล่าวสุนทรพจน์ หลังทราบผลว่าได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างไม่เป็นทางการ โดยระบุว่า ขอบคุณชาวอเมริกันทุกคนที่ยังคงเชื่อมั่นในตัวเขา และลงคะแนนเสียงให้
ขณะเดียวกันก็ได้ขอบคุณทีมหาเสียงที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในวันนี้ โดยเฉพาะ มิชเชล โอบามา ภริยาและลูกสาวทั้ง 2 คน สำหรับกำลังใจที่มีให้ตลอดมา
ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้เส้นทางอีก 4 ปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยอุปสรรค และมีภารกิจต่างๆที่ต้องแก้ไข แต่เขาในฐานะประธานาธิบดี ก็จะนำพาชาวอเมริกันทุกคนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปให้ได้ด้วยกัน พร้อมกันนี้ก็ได้ว่าจะหาโอกาสพุดคุยกับนายรอมนีย์ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาของประเทศด้วย
………………………………..

มิตต์ รอมนีย์ VS บารัค โอบามา
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012 โอบาม่า – รอมนีย์

อัพเดตผลการเลือกตั้ง
13.41 น. โอบามา ขึ้นเวทีแถลงชัยชนะ
13.17 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 303 รอมนีย์ 203 คะแนน
13.00 น.
 นายมิตต์ รอมนีย์ แถลงยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ หลังพ่ายแพ้ต่อ นายบารัก โอบามา ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
11.51 น.
 Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 290 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.40 น.
 บารัค โอบามา ทวีตขอบคุณหลังทราบว่าได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว 275 เสียง เกินจากที่ต้องได้อย่างน้อย 270 เสียงเพื่อชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าผลการนับคะแนนในหลายรัฐยังไม่ออกมาก็ตาม
11.38 น.
 CNN และ Fox News ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.16 น.
 NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.15 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.00 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 244 รอมนีย์ 193 คะแนน

ชาวอเมริกัน ทยอยใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวอเมริกันออกต่างทยอยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างคึกคัก ซึ่งโพลล์หลายสำนักต่างก็เผยผลการสำรวจว่า บารัค โอบามามีคะแนนนำ นายมิตต์ รอมนีย์อยู่เล็กน้อย
โดยโพลล์สำรวจความนิยมล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาในวันเลือกตั้ง พบว่า โพลส่วนใหญ่ ทั้ง พิว รีเสิร์ช , แกลลัพ โพล , เอบีซี นิวส์ , วอชิงตัน โพสต์  รวมถึง โพลล์ของซีเอ็นเอ็น พบว่า โอบามา ยังคงมีคะแนนนำรอมนีย์ อยู่ที่ร้อยละ 49 ต่อ 48%   ส่วน เอ็กซิท โพลล์ ปรับตัวเลขล่าสุด ต่างรายงานว่า โอบามา นำ รอมนีย์ อยู่เล็กน้อยที่ 50 ต่อ 47 แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอลุ้นผลการเลือกตั้งหลังลงคะแนนเสร็จสิ้น  ขณะที่สองผู้ชิงชัยตำแหน่งผู้นำสหรัฐก็เตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนนกันแล้ว
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้เดินทางกลับไปยัง ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพื่อเตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนน หลังจากที่เขาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าไป ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน ได้ควงคู่ แอนน์ ภรรยา ออกมาใช้สิทธิ์ที่หน่วยเลือกตั้งในมลรัฐแมสซาซูเซตส์แล้วในวันอังคาร ที่หน่วยเลือกตั้งบีช สตรีท  เมืองเบลมอนท์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์
การนับคะแนน ตลอดจนการติดตามทำนายผลของเครือข่ายโทรทัศน์ทรงอิทธิพลต่างๆ จะกระทำทันทีภายหลังการปิดหีบลงคะแนนในแต่ละมลรัฐ และคาดกันว่าชาวอเมริกันจะออกมาใช้สิทธิประมาณ 120 ล้านคน

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย


การปกครองของไทย


      
                      ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์แต่เพียงประองค์เดียว ทรงใช้อำนาจทั้งในด้านนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และทรงแต่งตั้งข้าราชการ ขุนนางไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมายใดๆ   พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมาย ทรงตัดสินและพิจารณาอรรถคดี ทรงบริหารประเทศ
                      ดังนั้นประชาชนจึงต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ใครฝ่าผืนไม่ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและประชาชนต้องปฏิบัติตามและที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


สมัยอาณาจักรสุโขทัย (..1800-1921)

         


        

                 ในสมัยนี้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบการ
ปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้
อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมืองเรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและตัดสินคดีความต่าง ๆ ทุกวันธรรมะสาวนะด้วยพระองค์เอง เรียกอำนาจนี้ว่าอำนาจตุลาการ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้เพียงพระองค์เดียว และทรงใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักธรรมประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครองโดยใช้คตินิยมในการปกครองแบบครอบครัวหรือ
"พ่อปกครองลูก" มาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชน
มาก ประชาชนต่างก็เรียกพระมหากษัตริย์ว่า “พ่อขุน

            นอกจากจะทรงวางรากฐานทางการปกครองแล้วในสมัยสุโขทัยยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยเปิด
โอกาสให้คนได้เรียนรู้ภาษา รู้ธรรมและกษัตริย์บางพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา การ
ปกครองจึงมีรูปแบบธรรมราชาด้วย ซึ่งมีหลักการ คือ ความเชื่อที่ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะต้องถูก
กำกับด้วยหลักธรรมะ ประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่า สวรรคต
            หลักธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ


สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  (.. 1893-2310)
             

  
           พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงของการก่อร่างสร้างเมืองทำให้ต้องมีผู้นำในการปกครองเพื่อรวมรวมอาณาจักรให้แผ่ขยาย มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการค้าและศาสนา และในช่วงเวลานั้นมีการเผยแพร่ของลัทธิฮินดูและขอมเข้ามามีบทบาทในอาณาจักร
             ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้รับวัฒนธรรมการปกครองแบบขอมและฮินดูเข้ามาใช้ เรียก
การปกครองแบบนี้ว่า   การปกครองแบบเทวสิทธิ์หรือ สมมติเทพ
              จากการที่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้รับแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากเขมรมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปกครองและในด้านสังคมไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราช หรือเทวดาโดยสมมุติ    การเกิดระบบศักดินาขึ้นครั้งแรกในสังคมไทย, การเกิดการปกครองแบบนายกับบ่าว  มีการแบ่งชั้นทางสังคมชัดเจน

               นอกจากนี้ในสมัยอยุธยายังต้องทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง มีการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อป้องกันประเทศ จึงเกิดระบบไพร่และมูลนายด้วยเช่นกัน




สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(.. 2310-2325)




3.1) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี
เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ไทยได้เสียกรุงให้กับพม่า ครั้งที่ 2ในปี พ.. 2310 เกิด
ความแตกแยกกันเป็นกก เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้ อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลากปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรี และตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นฝึกแผ่น ทำการกอบกู้เอกราชมาโดยตลอด ดังนั้น ตลอดระยะเวลา15 ปีพระองค์จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร    ดังนั้น  ในสมัยกรุงธนบุรีอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่
3.2) ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ประเทศไทยใช้รูปแบบการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่นกัน เพราะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงก่อร่างสร้างเมืองปราบปรามข้าศึกศัตรูโดยเฉพาะพม่า ทำให้ในเรื่องการปกครองไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ 3 มีการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมประกอบกับประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐกันชนทำให้เป็นที่สนใจของมหาอำนาจ ดังนั้นจึงส่งผลให้มีการปฏิรูปทั้งในด้านการเมืองการปกครองรวมทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏผลอย่างชัดเจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




สมัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่  24 มิถุนายน พ.. 2475







              ผลจาการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมและปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ส่งผลให้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการปกครอง และความจำเป็นในการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ทำการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินในวันที่
1 เมษายน 2435   หรือร..111
              หนึ่งในกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัยที่สำคัญ ได้แก่ การที่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงได้เดินทางไปรับการศึกษายังต่างประเทศ ซึ่งเมื่อได้เดินทางกลับมาก็ได้นำเอาแนวคิดและอารยธรรมทางตะวันตก รวมทั้งแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองเข้ามาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันรวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก้ปัญหาโดยทำการปลดข้าราชการ ให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการประหยัด ทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารไม่พอใจ ต่อมาภายหลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลดข้าราชการออกมากขึ้นรวมทั้งบรรดานายทหารชั้นนำก็ถูกลดขั้นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดและปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎรส่งผลให้ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในวันที่  24 มิถุนายน 2475



............................................................